เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.
dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 9

วันที่  มกราคม  2557


หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็น...วันหยุดของเทศกาลปีใหม่ 
.....คำกลอนปีใหม่ขออวยพรให้สมหวัง ทุกๆท่าน.....
สวัสดีวันนี้วันปีใหม่                ขอจงให้จงได้สิ่งที่หวัง
คิดอะไรขอให้สมใจกัน                    มีเงินพันให้ได้นับไม่ขาดเอย

สัปดาห์ที่ 8

วันที่  26  ธันวาคม  2556


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก...เป็นการแข่งขันกีฬาบุคคลกร
ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7

วันที่  19 ธันวาคม  2556 


หมายเหตุ : เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค จึงไม่มีการเรียนการสอน...ปฏิทินการศึกษา

สัปดาห์ที่ 6

วันที่ 12 ธันวาคม  2556



การเรียนการสอน 
พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  สรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้
เนื้อหาที่เรียนเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สรุปได้ดังนี้
พัฒนาการ
การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
ทำให้สามรถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยด้านชีววิทยา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังการคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักจะมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วม เช่น หูหนวก ตาปอด
การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
  • อาการของเด็กที่มีวามบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
การติดเชื้อ
  • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ จะมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระลอก
  • นอกจานี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ
ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอริซึม
  • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  • การเกิดก่อนก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
สารเคมี
  • ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็ก และมีการศึกษามากที่สุด
  • มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญาต่ำ
แอลกอฮอล์
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome, FAS
  • ช่องตาสั้น
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น
นิโคติน
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
  • อาการของเด็กที่มีวามบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
          1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย 
          2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
          3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
          4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
          5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
          2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ และการเจริญเติบโตที่อาจบ่งชี้สาเหตุที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการได้ เช่น ตรวจดูลักษณะผิดรูปของรูปร่างหน้าตา 
          2.2  ภาวะตับม้ามโต  ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะ inborn error บางชนิด
          2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers ได้แก่ café-au-lait spots บ่งถึง tuberous sclerosis ซึ่งเป็นสาเหตุของพัฒนาการล่าช้าได้
          2.4 ระบบประสาทต่างๆ โดยละเอียดและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอเพื่อที่จะสามารถตรวจพบเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการที่มีความรุนแรงไม่มากนัก
          2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse) เพราะเด็กพิเศษถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงอย่างหนึ่ง
          2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
          3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการพันธุกรรม 
          3.2 การตรวจรังสีทางระบบประสาท 
          3.3 การตรวจทางเมตาบอลิก
4. การประเมินพัฒนาการ
         4.1 การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
         4.2 การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
         4.3 แบบทดสอบ Denver ll
         4.4 Gesell Drawing Test
         4.5 แบบประเมินพัฒนาเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด- 5 ปี
         4.6 สถาบันราชานุกูล
สะท้อนการเรียน
  • การประเมินพัฒนาการเด็กได้เหมาะสมตามวัยและได้นำความรู้ที่ได้รับในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้แล้วนำมาเป็นองค์ความรู้ต่อในรายวิชาอื่นต่อไปในอนาคต
  • รู้วิธีการแก้พฤติกรรมหรือกลุ่มอาการความผิดปกติในเด็กได้ทันท่วงทีและนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ได้เหมาะสมกับกลุ่มอาการ

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5

วันที่  5 ธันวาคม  2556


การเรียนการสอน
หมายเหตุ :  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็น วันพ่อแห่งชาติ 
 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
ซึ่งตรงกับวันที่ ธันวาคม ของทุกปี

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 28 พฤศจิกายน  2556


การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่  3 เรื่องประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 
สรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้ 
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ( Children With Behauioral and Emotional.)
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  (Children with learning disabilities.)
  • เด็กออทิสติก (Children with Autism.)
  • เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps.)
ภาพกิจกรรม
เนื้อหาที่เรียนมีดังนี้
บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่นเป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อมหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่นความเก็บกดทางอารมณ์จะแสดงออกทางร่างกาย
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึงความผิดปกติที่มีลักษณะความหลากหลายที่ปรากฏให้เด่นชัดถึงความยากลำบากในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผลและความสามารถทางคณิตศาสตร์  ความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นภายในตัวเด็กเองโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความบกพร่องของระบบประสาทส่วนกลาง ปัญหาบางอย่างอาจมีไปตลอดชีวิตของบุคคลนั้น
เด็กออทิสติก หมายถึง เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบเด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
บุคคลพิการซ้อน (Mutiple Handcapped) หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภท ในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยินเป็นต้นหรือเด็กอาจจะมีปัญหาในด้านการเรียนรู้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การได้ยิน และการมองเห็น เด็กแต่ละคนที่มีความพิการซ้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น  ปัญหาในการเคลื่อนไหว  
อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO   เรื่อง ผลิบานผ่านมือครู : เราคือครอบครัวเดียวกัน  ผศ.กานดา โต๊ะถม , คุณครูขวัญดาว การะหงษ์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ รร.สาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  พร้อมสรุปเป็นองค์ความรู้
สะท้อนการเรียน
การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติในห้องทันเวลาและฝึกการวางแผนงาน การนำความรู้ที่ได้เรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษมาปรับใช้ในการประกอบการเรียนการสอนในอนาคตให้เกิดประโยชน์ที่สุด

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 21 พฤศจิกายน  2556



การเรียนการสอน
อาจารย์บรรยายเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่  2  สรุปได้ดังนี้

เนื้อหาที่เรียนมีดังนี้
บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพ  หมายถึง  บุคคลที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในสภาพปกติและต้องอาศัยการฝึกฝน  การใช้เครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์หรือต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกเข้าช่วย  สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย
1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
         1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
         1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
         1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี 
         1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
         1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย
3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
         3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
         3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
         3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
4. โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
6. โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย 
1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
         1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
         1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
         1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
         1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
         1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
2. โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
3. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
4. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
5. โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
6. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
7. โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
8. บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดทั้งในเรื่องการเข้าใจภาษาที่คนอื่นพูดและพูดให้คนอื่นเข้าใจ เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการรับรู้และเรียนรู้พัฒนาทักษะทุกๆ จำแนกได้ดังนี้
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด
3. ความผิดปกติด้านเสียง
4. ความผิดปกติด้านการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia ที่ควรรู้จักได้แก่ มีดังนี้
         4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca’s apasia) หมายถึงผู้ที่เข้าใจคำถาม หรือคาสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลาบาก พูดช้า ๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย
         4.2 Wernicke’s aphasia (Sensory หรือ Receptive aphasia) หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย
         4.3 Conduction aphasia หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคาถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
         4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia) หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ เข้าใจคาถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ
         4.5 Global aphasia หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดไม่ได้เลย
         4.6 Sensory agraphia หมายถึงผู้ที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคาถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann’s syndrome
        4.7 Motor agraphia หมายถึงผู้ที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ และเขียนตามคาบอกไม่ได้ เพราะมี apraxia ของมือ
        4.8 Cortical alexia (Sensory alexia) หมายถึงผู้ที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
        4.9 Motor alexia หมายถึงผู้ที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
        4.10 Gerstmann’s syndrome หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ชื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้ายขวา ทำคำนวณไม่ได้เขียนไม่ได้อ่านไม่ออก
        4.11 Visual agnosia หมายถึงผู้ที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
        4.12 Auditory agnosia (word deafness) หมายถึงผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคา หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
สะท้อนการเรียน
  • ทำให้เกิดการพัฒนาความคิด และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • ทำให้รู้จักการแบ่งเวลา และการตรงต่อเวลา
  • ทำให้รู้จักการแก้ปัญหาต่างๆโดยเฉพาะการแก้ปัญหาเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆได้ถูกวิธี
  • ทำให้รู้ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ 

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 2

วันที่  14  พฤศจิกายน 2556


การเรียนการสอน
อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดของคะแนน มีดังนี้
  • จิตพิสัย    10    คะแนน
  • งานเดียว (วิจัย)  10   คะแนน
  • งานกลุ่ม (นำเสนอ)  20  คะแนน
  • บันทึกอนุทิน  Blogspot 20  คะแนน
  • สอบกลางภาค   15  คะแนน
  • สอบปลายภาค   15  คะแนน
จากนั่นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม แล้วมอบหมายงาน มีทั่งหมด  5 เรื่อง
  1. เด็กซี. พี  (กลุ่มดิฉัน)
  2. เด็กดาวน์ซินโดรม
  3. เด็กออทิสติก
  4. เด็กสมาธิสั้น
  5. เด็กแอลดี
สะท้อนการเรียน
เด็กพิเศษ  (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึง เด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม
กระทรวงการศึกษาได้แบ่งประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ออกเป็น 9 ประเภท ดงนี้
1)  ความบกพร่องทางสติปัญญา 
2.) เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
3.)  เด็กบกพร่องทางการเห็น
4.)  เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5.)  เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
6.)  เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7.)  เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้
8.)  เด็กออทิสติก
9.)  เด็กพิการซ้อน
เนื้อหาที่เรียนในวันนี้สามารถสรุปได้ดังนี้
1)  ความบกพร่องทางสติปัญญา  บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา(Montal Retarelation) หมายถึง  บุคคลที่มีภาวะจำกัดในการปฏิบัติงานและแสดงลักษณะความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ()ปรากฏร่วมกับมีความจำกัดทางทักษะด้านการปรับตัวอย่างน้อย 2 ทักษะหรือมากกว่า ทั้งนี้ต้องมีภาวะความบกพร่องทางสติปัญญาเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี
2.)  เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กหูหนวก และ เด็กหูตึงเด็กหูหนวก เป็นเด็กที่สามารถได้ยินเสียงคนพูดน้อยมาก ใช้เครื่องช่วยฟังก็ไม่ได้ผล ซึ่งเด็กหูตึงเป็นเด็ก ที่สามารถได้ยินเสียงพูดบ้าง แต่ต้องใช้ เครื่องช่วยฟัง ช่วยขยายเสียงให้ชัดเจนขึ้น
3.)  เด็กบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กที่สูญเสียทางการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท มักพบได้บ่อยๆ ในโรงเรียนและในสังคมทั่วไป ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นประเภทมองเห็นเลือนราง
2. ตาบอดสนิท            
 การนำไปใช้
การวางแผนการทำงานกลุ่มและได้ศึกษาความหมายของเด็กพิเศษที่มีความต้องการพิเศษเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 1

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556


การเรียนการสอน
อาจารย์แจกแนวการสอน (Course Syllabus) 
ชี้แจงการละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย และเกณฑ์การให้คะแนน
อาจารย์ให้นักศึกษาทำ  Mindmapping หัวข้อ เรื่องเด็กพิเศษ พร้อมตกแต่งผลงานให้สวยงาม พร้อมส่งตัวแทนในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
สะท้อนการเรียน
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ  หมายถึง เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ ทั้งนี้มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบาบัด ฟื้นฟูและให้การเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็ก
เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องอยู่ในขอบเขต 3 ประการคือ
         1. ความบกพร่อง (Impairment) หมายถึงมีการสูญเสียหรือมีความผิดปกติของจิตใจ และสรีระหรือโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย
         2. ไร้สมรรถภาพ (Disability) หมายถึงการมีข้อจากัดใด ๆ หรือการขาดความสามารถอันเป็นผล มาจากความบกพร่อง จนไม่สามารถกระทากิจกรรมในลักษณะหรือภายในขอบเขตที่ถือว่าปกติสาหรับมนุษย์ได้
        3. ความเสียเปรียบ (Handicap) หมายถึงการมีความจากัดหรืออุปสรรคกีดกั้นอันเนื่องมาจากความบกพร่อง และการไร้สมรรถภาพที่จากัดหรือขัดขวางจนทาให้บุคคลไม่สามารถบรรลุการกระทาตามบทบาทปกติของเขาได้สาเร็จ
การนำไปใช้
นำความรู้ที่รับจากการศึกษาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษมาใช้ประกอบการเรียนการสอน และยังมีความสามารถนำแนวคิดจิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กพิเศษปฐมวัยมาใช้เพื่อปรับพฤติกรรมของเด็กพิเศษได้
งานที่ได้รับมอบหมาย
  • งานเดี่ยวทำ Blogspot  บันทึกการเข้าเรียน สะท้อนองค์ความรู้ที่ได้รับจากรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  • งานกลุ่ม แบ่งกลุ่มประเภทของเด็กพิเศษ
  • งานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษ