เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.
dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 9

วันที่  มกราคม  2557


หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็น...วันหยุดของเทศกาลปีใหม่ 
.....คำกลอนปีใหม่ขออวยพรให้สมหวัง ทุกๆท่าน.....
สวัสดีวันนี้วันปีใหม่                ขอจงให้จงได้สิ่งที่หวัง
คิดอะไรขอให้สมใจกัน                    มีเงินพันให้ได้นับไม่ขาดเอย

สัปดาห์ที่ 8

วันที่  26  ธันวาคม  2556


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก...เป็นการแข่งขันกีฬาบุคคลกร
ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 7

วันที่  19 ธันวาคม  2556 


หมายเหตุ : เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค จึงไม่มีการเรียนการสอน...ปฏิทินการศึกษา

สัปดาห์ที่ 6

วันที่ 12 ธันวาคม  2556



การเรียนการสอน 
พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  สรุปเป็นองค์ความรู้ได้ดังนี้
เนื้อหาที่เรียนเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สรุปได้ดังนี้
พัฒนาการ
การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
ทำให้สามรถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยด้านชีววิทยา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังการคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักจะมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วม เช่น หูหนวก ตาปอด
การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
  • อาการของเด็กที่มีวามบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
การติดเชื้อ
  • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ จะมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระลอก
  • นอกจานี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ
ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอริซึม
  • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  • การเกิดก่อนก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
สารเคมี
  • ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็ก และมีการศึกษามากที่สุด
  • มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญาต่ำ
แอลกอฮอล์
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome, FAS
  • ช่องตาสั้น
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น
นิโคติน
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
  • อาการของเด็กที่มีวามบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
          1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย 
          2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
          3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
          4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
          5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
          2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ และการเจริญเติบโตที่อาจบ่งชี้สาเหตุที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการได้ เช่น ตรวจดูลักษณะผิดรูปของรูปร่างหน้าตา 
          2.2  ภาวะตับม้ามโต  ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะ inborn error บางชนิด
          2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers ได้แก่ café-au-lait spots บ่งถึง tuberous sclerosis ซึ่งเป็นสาเหตุของพัฒนาการล่าช้าได้
          2.4 ระบบประสาทต่างๆ โดยละเอียดและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอเพื่อที่จะสามารถตรวจพบเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการที่มีความรุนแรงไม่มากนัก
          2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse) เพราะเด็กพิเศษถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงอย่างหนึ่ง
          2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
          3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการพันธุกรรม 
          3.2 การตรวจรังสีทางระบบประสาท 
          3.3 การตรวจทางเมตาบอลิก
4. การประเมินพัฒนาการ
         4.1 การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
         4.2 การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
         4.3 แบบทดสอบ Denver ll
         4.4 Gesell Drawing Test
         4.5 แบบประเมินพัฒนาเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด- 5 ปี
         4.6 สถาบันราชานุกูล
สะท้อนการเรียน
  • การประเมินพัฒนาการเด็กได้เหมาะสมตามวัยและได้นำความรู้ที่ได้รับในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้แล้วนำมาเป็นองค์ความรู้ต่อในรายวิชาอื่นต่อไปในอนาคต
  • รู้วิธีการแก้พฤติกรรมหรือกลุ่มอาการความผิดปกติในเด็กได้ทันท่วงทีและนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ได้เหมาะสมกับกลุ่มอาการ

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5

วันที่  5 ธันวาคม  2556


การเรียนการสอน
หมายเหตุ :  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็น วันพ่อแห่งชาติ 
 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
ซึ่งตรงกับวันที่ ธันวาคม ของทุกปี