เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.
dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก dookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารักdookdik icon ดุ๊กดิ๊กน่ารัก

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557

หมายเหตุ: เป็นสัปดาห์ของการสอบปลายภาค


สัปดาห์ที่ 15

วันที่  13 กุมภาพันธ์ 2557


การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD) ส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการเรียน ดังนี้
  • การดูแลให้ความช่วยเหลือ
  • การสร้างแรงทางบวก
  • รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
  • งานแผนการจัดนำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
  • สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้น
  • IEP
การรักษาด้วยยา
  • Ritalin มีใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
  • Dexedrine ใช้ในต่างประเทศ
  • Cylert   ใช้ในต่างประเทศ
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สคส)
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention)
โรงเรียนเฉพาะความพิการ
สถาบันราชานุกูล
      สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดู DVO เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ  ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ดังนี้
พัฒนาการในการช่วยบำบัดและส่งเสริมสำหรับเด็กพิเศษ
1.  การเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม เช่นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก ร่วมทั้งการพัฒนาทักษะการพูด โดยการใช้ดนตรีเข้ามาช่วยในกิจกรรม
2.  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหรือสติปัญญา เช่น การตอบคำถามหลังจากการเล่านิทานจบ  กิจกรรมการจำแนกของที่มีลักณะเหมือนกัน เป็นต้น
3.  ทักษะการเข้าใจ  ฝึกการออกเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร โดยกิจกรรม อย่างเช่น พูดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวหรือการเรียกชื่อของตัวเอง
4.  ทักษะการใช้ภาษา การฝึกการประสานการทำงานระหว่างมือกับตา รวมกับสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
5.  ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่นการฝึกทำอาหาร ขนม การรีดเสื้อผ้า ซึ่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเป็นความรู้ในการใช้ประกอบอาชีพได้ เช่น
...โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
...โครงการแม่ลูกผูกพัน
...โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้
สะท้อนการเรียน
การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหาเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD)
การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และการอภิปรายในเนื้อหาที่เรียน
เข้าใจในเนื้อหาของเด็ก (LD) และวิธีการดูแล ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 14

วันที่ 6 กุมภาพันธ์  2557



หมายเหตุ  :  ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนไปศึกษาดูงาน
สะท้อนการเรียน
เด็กพิเศษ   Special Child
     เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน
เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
  • เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
  • เด็กที่มีความบกพร่อง
  • เด็กยากจนและด้อยโอกาส
เด็กแต่ละกลุ่ม มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็กพิเศษ แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
         1 ) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เด็กกลุ่มนี้มักไม่ค่อยได้รับการดูแล ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่งแล้ว สามารถเอาตัวรอดได้ บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้น เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
         2) เด็กที่มีความบกพร่อง
มีการแบ่งหลายแบบ ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว
เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
เด็กที่มีความพิการซ้อน
          3 ) เด็กยากจนและด้อยโอกาส
คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ
เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษ ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม
        คำว่า "เด็กพิเศษ" ในปัจจุบันมักหมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น ส่วนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ กับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาส มักไม่ค่อยเรียกว่าเป็นเด็กพิเศษ
        อ้างอิงจากทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. เด็กพิเศษ. [Online] 2549; Available from: URL:                                                        http://www.happyhomeclinic.com/sp01-specialchild.htm