วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557
Child Care of Early Childhood with Special Need
แฟ้มสะสมผลงานวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



เกี่ยวกับฉัน

- Porntip Srikaew
- Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.








วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 15
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
(LD) ส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการเรียน ดังนี้
- การดูแลให้ความช่วยเหลือ
- การสร้างแรงทางบวก
- รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
- งานแผนการจัดนำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
- สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้น
- IEP
- Ritalin มีใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
- Dexedrine ใช้ในต่างประเทศ
- Cylert ใช้ในต่างประเทศ
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention)
โรงเรียนเฉพาะความพิการ
สถาบันราชานุกูล
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดู DVO เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ได้ดังนี้
พัฒนาการในการช่วยบำบัดและส่งเสริมสำหรับเด็กพิเศษ
1. การเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม
เช่นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
ร่วมทั้งการพัฒนาทักษะการพูด โดยการใช้ดนตรีเข้ามาช่วยในกิจกรรม
2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหรือสติปัญญา
เช่น การตอบคำถามหลังจากการเล่านิทานจบ
กิจกรรมการจำแนกของที่มีลักณะเหมือนกัน เป็นต้น
3. ทักษะการเข้าใจ ฝึกการออกเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร
โดยกิจกรรม อย่างเช่น พูดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวหรือการเรียกชื่อของตัวเอง
4. ทักษะการใช้ภาษา การฝึกการประสานการทำงานระหว่างมือกับตา
รวมกับสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
5. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เช่นการฝึกทำอาหาร ขนม การรีดเสื้อผ้า
ซึ่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเป็นความรู้ในการใช้ประกอบอาชีพได้ เช่น
...โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
...โครงการแม่ลูกผูกพัน
...โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้
...โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
...โครงการแม่ลูกผูกพัน
...โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้
สะท้อนการเรียน
การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหาเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
(LD)
การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และการอภิปรายในเนื้อหาที่เรียน
เข้าใจในเนื้อหาของเด็ก (LD) และวิธีการดูแล ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และการอภิปรายในเนื้อหาที่เรียน
เข้าใจในเนื้อหาของเด็ก (LD) และวิธีการดูแล ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 14
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนไปศึกษาดูงาน
สะท้อนการเรียน
เด็กพิเศษ Special Child
เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ”
หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ
เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้
และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง
โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน
เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
- เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
- เด็กที่มีความบกพร่อง
- เด็กยากจนและด้อยโอกาส
เด็กแต่ละกลุ่ม
มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน
ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็กพิเศษ
แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
1 ) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เด็กกลุ่มนี้มักไม่ค่อยได้รับการดูแล
ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่งแล้ว สามารถเอาตัวรอดได้
บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้น
เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป
ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
ทำให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น
3 กลุ่มย่อย ดังนี้
เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ
กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน
อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน
อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง
มีการแบ่งหลายแบบ
ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
และการเคลื่อนไหว
เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
และพฤติกรรม
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
เด็กออทิสติก
(รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
เด็กที่มีความพิการซ้อน
3 ) เด็กยากจนและด้อยโอกาส
คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน
ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก
และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน
เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ
เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง
เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษ
ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ
เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพกาย
สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม
คำว่า "เด็กพิเศษ"
ในปัจจุบันมักหมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น
ส่วนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ กับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาส
มักไม่ค่อยเรียกว่าเป็นเด็กพิเศษ
อ้างอิงจาก : ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. เด็กพิเศษ. [Online]
2549; Available from: URL: http://www.happyhomeclinic.com/sp01-specialchild.htm
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 13
วันที่ 30 มกราคม 2557
การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเนื้อหา เรื่อง
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กกลุ่ม (Down’s syndrome)
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับตนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach)
1. ด้านสุขภาพอนามัย
บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่เริ่มแรก
ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้
ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
ทางการแพทย์ การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
ทางการศึกษา
แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
ทางสังคม การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
ทางอาชีพ โดยการฝึกอาชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
- การปฏิบัติของบิดา มารดา ยอมรับความจริง
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้น เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักและความอบอุ่น
- การตรวจภายใน มะเร้งปากมดลูก เต้านม
- การคุมกำเนิด การทำหมัน การสอนเพศศึกษา ตรวจโรคหัวใจ
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก ดังนี้
- ส่งเสริมความเข้มแข้งครอบครัว การสอนเพศศึกษาและการตรวจโรคหัวใจ
- ส่งเสริมความสามารถของเด็ก มีบทบาทสำคัญที่สุด
- การสื่อความหมายทดแทน (ACC) ส่งเสริมความสามารถของเด็ก ให้ได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย และทำกิจกรรมที่หลากหลาย
- ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) ปรับพฤติกรรม ฝึกทักษะทางสังคม ให้รงเสริม
- ตนตรีบำบัด การฝึกพูด การสื่อความหมายทดแทน (ACC)
- การฝังเข็ม การฝึกพูด การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
- การบำบัดด้วยสัตว์ การรักษาด้วยยา Methylphnidate (Ritlin)ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ชนหุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
สะท้อนการเรียน
จากเนื้อหาที่เรียนทำให้เรารู้ว่าเด็กดาวน์ซินโดรมมีอาการอย่างไร
เพื่อจะสามารถช่วยเหลือหรือบำบัดเด็กได้ทันท่วงทีเวลาเราได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเรียนการสอน
ซึ่งเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนสำคัญกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพันธุ์กรรมเป็นอย่างมาก
เช่นเด็กลุ่มดาวน์ซินโดรม และเด็กที่มีอาการทางออทิสติก ทำให้ได้รับองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 12
วันที่ 23 มกราคม 2557
การเรียนการสอน
อาจารย์ให้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ก่อน
ซึ่งเพื่อนกลุ่มสุดท้ายได้นำเสนอเรื่องเด็กออทิสติก สรุปเนื้อหาได้ดังนี้
เด็ก Austitim หมายถึง
เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ
เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
Autism คือ โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง
เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม
เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน
ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน
ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม
กล้ามเนื้อและความรู้สึก
สาเหตุของ Autism
สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด
โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว
หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท
สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters
ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
เด็กที่เป็น Autismจะมีลักษณะอาการดังนี้
อาการทางสังคม
เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา
หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism
จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว
เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ
ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม
ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย
ปัญหาด้านภาษา
เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา
เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ
หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ
เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ
- เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
- เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
- เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
- เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
- เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
- เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
เด็ก autism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น รูป รส
กลิ่น เสียง
ความสามารถพิเศษ
- เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือมากกว่าการพัฒนาของเด็กปกติ
- การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก
สะท้อนการเรียน
การฝึกเป็นผู้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนและการสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนองานของเพื่อนเรื่องเด็กออทิสติก
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 11
วันที่ 15 มกราคม 2557
การเรียนการสอน
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองทำให้นักศึกษาหลายๆคนมีปัญหาเรื่องการเดินทาง
จึงไม่สามารถมีการเรียนการสอนได้ตามปกติ
ซึ่งงานที่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้รับผิดชอบเป็นรายบุคคลดังนี้
สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษA4 ตามหัวข้อนี้ (กำหนดส่งภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์
2557)*
1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5.นิยามศัพท์เฉพาะ
6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8.การดำเนินการวิจัย
9.สรุปผลการวิจัย
10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้
สะท้อนการเรียน
- การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษางานวิจัย
- การรับผิดชอบในงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้รับผิดชอบ
- การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมบทเรียนที่เราเรียนในห้อง
และการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 10
วันที่ 9 มกราคม 2557
การเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่ม
ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 นำเสนองานเรื่อง ภาวะการเรียนบกพร่อง (LD)
กลุ่มที่ 2 นำเสนองานเรื่องเด็กพิการทางสมอง (CP)
กลุ่มที่ 2 นำเสนองานเรื่องเด็กพิการทางสมอง (CP)
กลุ่มที่ 3 นำเสนองานเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (สมาธิสั้น)
กลุ่มที่ 4 นำเสนองานเรื่องดาว์นซินโดรม
สรุปจากเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอได้ดังนี้
กลุ่มที่ 4 นำเสนองานเรื่องดาว์นซินโดรม
สรุปจากเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอได้ดังนี้
การประเมินที่ใช้ในการปฏิบัติ
- แบบทดสอบ Denver ll
- Gesell Drawiny Test
- แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - ขวบ (สถาบันราชนุกูล)
แนวทางในการดูแลรักษา
- หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
- การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
- การรักษาสาเหตุโดยตรง
- การส่งเสริมพัฒนาการ
- ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ
ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
- การตรวจประเมินพัฒนาการ
- การให้บริการวินิจฉัยและหาสาเหตุ
- การให้การศึกษาและส่งเสริมพัฒนาการ
- การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
การได้สรุปองค์ความรู้ในห้องเรียนที่เพื่อนได้นำเสนองาน
การฝึกการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนซึ่งทำให้เรากล้าแสดงออก
และเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอก่อให้เกิดประโยชน์ในการศึกษา เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ทำให้เราได้รับความรู้และนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)