วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557
แฟ้มสะสมผลงานวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



เกี่ยวกับฉัน

- Porntip Srikaew
- Porntip srikaew [nuy] ID 5411204398 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.








วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 15
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557
การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
(LD) ส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการเรียน ดังนี้
- การดูแลให้ความช่วยเหลือ
- การสร้างแรงทางบวก
- รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
- งานแผนการจัดนำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
- สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้น
- IEP
- Ritalin มีใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
- Dexedrine ใช้ในต่างประเทศ
- Cylert ใช้ในต่างประเทศ
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention)
โรงเรียนเฉพาะความพิการ
สถาบันราชานุกูล
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดู DVO เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ได้ดังนี้
พัฒนาการในการช่วยบำบัดและส่งเสริมสำหรับเด็กพิเศษ
1. การเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม
เช่นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก
ร่วมทั้งการพัฒนาทักษะการพูด โดยการใช้ดนตรีเข้ามาช่วยในกิจกรรม
2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหรือสติปัญญา
เช่น การตอบคำถามหลังจากการเล่านิทานจบ
กิจกรรมการจำแนกของที่มีลักณะเหมือนกัน เป็นต้น
3. ทักษะการเข้าใจ ฝึกการออกเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร
โดยกิจกรรม อย่างเช่น พูดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวหรือการเรียกชื่อของตัวเอง
4. ทักษะการใช้ภาษา การฝึกการประสานการทำงานระหว่างมือกับตา
รวมกับสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
5. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เช่นการฝึกทำอาหาร ขนม การรีดเสื้อผ้า
ซึ่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเป็นความรู้ในการใช้ประกอบอาชีพได้ เช่น
...โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
...โครงการแม่ลูกผูกพัน
...โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้
...โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
...โครงการแม่ลูกผูกพัน
...โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้
สะท้อนการเรียน
การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหาเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้
(LD)
การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และการอภิปรายในเนื้อหาที่เรียน
เข้าใจในเนื้อหาของเด็ก (LD) และวิธีการดูแล ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และการอภิปรายในเนื้อหาที่เรียน
เข้าใจในเนื้อหาของเด็ก (LD) และวิธีการดูแล ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สัปดาห์ที่ 14
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนไปศึกษาดูงาน
สะท้อนการเรียน
เด็กพิเศษ Special Child
เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ”
หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ
เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้
และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง
โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน
เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
- เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
- เด็กที่มีความบกพร่อง
- เด็กยากจนและด้อยโอกาส
เด็กแต่ละกลุ่ม
มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน
ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็กพิเศษ
แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
1 ) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เด็กกลุ่มนี้มักไม่ค่อยได้รับการดูแล
ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่งแล้ว สามารถเอาตัวรอดได้
บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้น
เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป
ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย
ทำให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น
3 กลุ่มย่อย ดังนี้
เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ
กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน
อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน
อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง
มีการแบ่งหลายแบบ
ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
และการเคลื่อนไหว
เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์
และพฤติกรรม
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
เด็กออทิสติก
(รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
เด็กที่มีความพิการซ้อน
3 ) เด็กยากจนและด้อยโอกาส
คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน
ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก
และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน
เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ
เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง
เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษ
ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ
เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพกาย
สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม
คำว่า "เด็กพิเศษ"
ในปัจจุบันมักหมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น
ส่วนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ กับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาส
มักไม่ค่อยเรียกว่าเป็นเด็กพิเศษ
อ้างอิงจาก : ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. เด็กพิเศษ. [Online]
2549; Available from: URL: http://www.happyhomeclinic.com/sp01-specialchild.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)